วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ปัญหาสังคมจากเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรม และกฎหมาย
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์
- การใช้โทรศัพท์มือถือ มีเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยจำหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีความรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องทำการจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยอีกต่อไป
- พฤติกรรมในการซื้อสินค้า จากเดิมอาจจะต้องไปซื้อสินค้าด้วยตนเองที่ร้านค้า ก็เปลี่ยนเป็นสั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต
- พฤติกรรมในการติดต่อสื่อสารกัน จากเดิมที่อยู่ในรูปของ
จดหมายมีน้อยลง แต่จะเปลี่ยนเป็นใช้การติดต่อผ่าน E-mail แทน
- พฤติกรรมในการค้นหาข้อมูลจากเดิมจะค้นหาข้อมูลจาก
ห้องสมุด ก็เปลี่ยนเป็นค้นหาจากอินเทอร์เน็ตโดยส่วนใหญ่
เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
สังคมมีผลต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแรงผลักดันจากสังคมให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น
- เนื่องจากสถานภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลาย ๆ งาน ได้ในขณะเดียวกัน เพื่อทำให้ประหยัดทรัพยากร
- จากกระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วทั่วถึงได้ผลักดันให้เกิดอินเทอร์เน็ตขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น
- เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดรูปแบบสังคมแบบใหม่ที่มีการ
พบปะพูดคุยในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- การติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อาจจะทำให้เกิดการ
ล่อลวงกัน จนเกิดเป็นคดีต่าง ๆ
- การเข้าถึงข้อมูลและกระจายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ง่ายเกินไป
มีผลต่อกลุ่มบุคคลที่ไม่ควรที่จะได้รับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ภาพที่ไม่
เหมาะสม
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการดำเนินชีวิต
- มีความรู้สึกโดยทั่วกันว่า ต้องสามารถติดต่อผู้ที่มีมือถือได้โดยสะดวก หากบางครั้งก็พบอุปสรรค เช่น บางครั้งคู่สนทนาอยู่ในที่อับสัญญาณ ทำให้กระทบต่อการติดต่อสื่อสาร
- เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น คอมพิวเตอร์ถูกฝังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน อาทิ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ สภาพชีวิตความเป็นอยู่จึงเปลี่ยนไป เป็นต้น
- ระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจ่ายไฟให้กับพลเมืองเกิดขัดข้อง จะก่อให้เกิดผลเสียมากมายรวมทั้งเกิดความวุ่นวายต่าง ๆ
ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ปัญหาเด็กติดเกมส์
- ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์
- ปัญหาสังคมเสื่อมโทรมจากการใช้เทคโนโลยี
ในทางที่ผิด
- ปัญหาอาชญากรรมต่อชีวิตที่เกิดจากเทคโนโลยี
สารสนเทศ
- ปัญหาอาชญากรรมต่อข้อมูล
- ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น คุกกี้ การ
นำภาพบุคคลมาตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้เกิดการ
เข้าใจผิด
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น ตั้งใจทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ ทำการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้
กรณีศาสตราจารย์กิติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญภาษาและวรรณคดีไทยให้ความเห็นว่า สื่อมวลชนและบุคคลสาธารณะควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้คำศัพท์ตาม
ถามว่า ถ้าคำว่าแล็ปท็อปให้เรียกว่า "คอมพ์วางตัก" แล้วคำว่าแท็บเล็ต (tablet Computer) เราคนไทยควรจะเรียกว่าอะไรดี
การบัญญัติศัพท์ laptop ว่าคอมพิวเตอร์วางตักนั้นถือว่าสมเหตุสมผล เพราะคำว่า lap นั้นแปลว่าหน้าตัก ส่วน top นั้นแปลว่าบน ถือว่าตรงตัวและเหมาะสมเข้าใจได้ตามที่ต่างชาติบัญญัติขึ้น
แต่สำหรับคำว่า tablet ซึ่งพจนานุกรมภาษาอังกฤษ-ไทย ของ ศ.ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม อธิบายความหมายไว้ว่า "ยาเม็ดแบน, ป้าย, แผ่นจารึก, แผ่นหนังสือ, แผ่นเหล็ก, ก้อนแบน" ดูเหมือนว่าจะค่อนข้างประหลาดหากราชบัณฑิตฯจะบัญญัติศัพท์ที่ตรงตัวกับความหมาย เช่น คอมพิวเตอร์แผ่นเหล็ก หรือคอมพิวเตอร์ก้อนแบน เป็นต้น
ประเด็นนี้เชื่อว่าหลายคนจับตาดูกันสนุกสนาน ว่าราชบัญฑิตจะประกาศศัพท์ใดออกมาสำหรับแท็บเล็ต หรือจะมีความเป็นไปได้ที่ราชบัญฑิตจะกำหนดให้แท็บเล็ตถูกเรียกทับศัพท์ว่าแท็บเล็ตต่อไป ที่ผ่านมา คำที่ราชบัญฑิตกำหนดให้เรียกทับศัพท์นั้นมีมากมาย เช่น internet (อินเทอร์เน็ต) digital (ดิจิทัล) graphic (กราฟิก) click (คลิก) mouse (เมาส์) electronics (อิเล็กทรอนิกส์) web site (เว็บไซต์) script (สคริปต์) software (ซอฟต์แวร์) browser (เบราว์เซอร์) bandwidth (แบนด์วิดท์) supercomputer (ซูเปอร์คอมพิวเตอร์) ซึ่งทุกคำล้วนสื่อความหมายที่เข้าใจง่าย
ผิดกับคำอีกมากที่ราชบัญฑิตกำหนดไว้แต่ไม่มีใครนิยมใช้ เช่นคำว่า Scanner ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า เครื่องกวาดตรวจ แต่นิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า, Smart card ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า บัตรเก่ง แต่นิยมใช้คำทับศัพท์ว่า สมาร์ทการ์ด ยังมีคำว่า Icon ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า สัญรูป แต่นิยมใช้คำทับศัพท์ว่า ไอคอน และ Protocol ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า เกณฑ์วิธี แต่คำทับศัพท์ว่า โพรโทคอล นั้นเข้าใจได้ง่ายกว่า
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการบัญญัติศัพท์เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ของราชบัญฑิตนั้นมีความท้าทายอย่างมาก โดยเฉพาะหลังจากราชบัญฑิตฯถูกชาวออนไลน์เข้าใจผิดเพราะฟอร์เวิร์ดเมล (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งต่อกันมา) ซึ่งกล่าวหาว่าราชบัญฑิตฯบัญญัติศัพท์คำ hardware ว่า"กระด้างภัณฑ์" ราชบัญฑิตระบุว่าตลอดว่าไม่จริง ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้องคือ "ส่วนเครื่อง" และ "ส่วนอุปกรณ์" ต่างหาก
เช่นเดียวกับคำว่า software ราชบัณฑิตยสถานไม่เคยบัญญัติว่า ละมุนภัณฑ์ แต่ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้องคือ ส่วนชุดคำสั่งหรือคำว่า joystick คนเข้าใจผิดว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า แท่งหรรษา แต่ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้อง คือ ก้านควบคุม และคำว่า pop-up menu คนเข้าใจผิดว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า เมนูโผล่ แต่ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้อง คือ รายการเลือกแบบผุดขึ้น เช่นเดียวกับ pop-up window ราชบัณฑิตยสถานไม่ได้บัญญัติว่า หน้าต่างโผล่ แต่บัญญัติว่า หน้าต่างแบบผุดขึ้น หรือวินโดว์แบบผุด รวมถึงคำว่า Windows ก็ไม่ได้ถูกบัญญัติว่า พหุบัญชร แต่บัญญัติไว้ทับศัพท์เลยคือ วินโดวส์
ว่าแล้วคนไทยมาช่วยกันคิดดีกว่า ว่าจะเรียกแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีรูปทรงละม้ายคล้ายกระดานชนวนที่สุนทรภู่เคยใช้งานว่าอะไรกันดี
บัญชีรายรับ-รายจ่าย ตลอด 4 ปีการศึกษา ระหว่างปี พ.ศ.2555
–ปี พ.ศ. 2559
โดย นางสาวลักขณา
กู่แก้วเกษม
ลำดับ
|
รายละเอียด
|
รายรับ
|
รายจ่าย
|
จำนวน
|
รวมทั้งสิ้น
|
หมายเหตุ
|
1.
|
เงินเดือน
|
7,500
|
48
|
360,000
|
||
2.
|
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
|
2,150
|
1
|
2,150
|
||
3.
|
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
|
7,100
|
8
|
56,800
|
||
4.
|
ค่าธรรมเนียมการศึกษา (ช่วงซัมเมอร์)
|
4,100
|
4
|
16,400
|
||
5.
|
ค่าถ่ายรูป 1.5”
|
80
|
1
|
80
|
||
6.
|
ค่าถ่ายเอกสาร,
|
50
|
1
|
50
|
||
7.
|
ค่าพาหนะ
|
500
|
48
|
24,000
|
||
8.
|
ค่าหนังสือ
|
70
|
48
|
2,520
|
||
9.
|
ค่าอาหาร 1 มื้อ
|
30
|
480
|
14,400
|
||
10.
|
ค่าทำรายงาน,ค่าถ่ายเอกสาร
|
300
|
48
|
14,400
|
||
11.
|
ค่าติดต่อประสานงาน
(โทรศัพท์)
|
150
|
48
|
7,200
|
||
12.
|
ค่าสมุด,ปากกา,ยางลบ
ฯลฯ
|
50
|
48
|
2,400
|
||
13.
|
ค่าทำงานวิจัย,ออกนอกพื้นที่
|
2000
|
1
|
2,000
|
||
14.
|
อื่นๆ
|
300
|
48
|
14,400
|
||
15.
|
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น
|
156,800
|
รวมรายได้ 360,000
-
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 156,800
-
คงเหลือ ( Total ) 203,200
-
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)